งูเห่า

18 November 2024

โดย  ศ.นพ.มุกดา  ตฤษณานนท์

     การเดินทางท่องเที่ยวตามป่าเขาและทุ่งนา  อาจพบกับพวกงูบางชนิด  ซึ่งเป็นงูมีพิษ  และอาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  ดังจะได้กล่าวต่อไป

     งูเห่าเป็นสัตว์ที่มีพิษ  ซึ่งมีผลต่อประสาท  พบได้ทั่วไปในประเทศไทย  งูเห่าจะแผ่แม่เบี้ยเห็นชัดเจน   ที่หัวมีดอกจันท์  บางชนิดอาจจะไม่มีการก็ได้  ลำตัวสีค่อนข้างดำ  งูโดยมากมักจะหนี  ไม่ใช่จะกัดเราง่าย ๆ นอกจากจะไปเหยียบตัวงูเข้า  หรืองูตกใจ  ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกกัดมักจะไปเหยียบ  งูจะฉกกัดทันทีอย่างรวดเร็ว  บางทีเรามองไม่เห็นงูด้วยซ้ำไป  งูมักจะอยู่ในที่มืด เช่น ตามใต้ท่อนไม้ซึ่งผุ  ตามใต้ก้อนหินหรือหลบอยู่ตามพงหญ้า  ตามทุ่งนาเป็นต้น  งูมีพิษจะมีเขี้ยว 2  เขี้ยว  เมื่อฉกกัดจะเห็นเป็นรอยเขี้ยวเป็นรู 2 รู  มีเลือดออกซิบ ๆ มีอาการเจ็บ  เสียวแปลบ  ปวดมากพอสมควร  ผู้ถูกกัดจะรู้สึกทันที

    ถ้าถูกกัดด้วยงูเห่าซึ่งมีตัวใหญ่  และปล่อยพิษเข้าไปมาก  จะเกิดอาการภายใน  20  นาที  อาการจะเริ่มต้นด้วยมีอาการงงที่ศรีษะ, ปวดเมื่อย  ต่อไปมีอาการหนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น  อ้าปากไม่ค่อยได้  พูดจาอ้อมแอ้ไม่คอยรู้เรื่อง  เนื่องจากมีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อ  เนื่องจากงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม  จะมีพิษเกี่ยวกับระบบประสาท  ทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต  ซึ่งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อเล็กก่อน  เช่น หนังตาทำให้หนังตาตกก่อน  ต่อไปจะลุกลามไปที่กล้ามเนื้ออื่น ๆ เช่น  ลิ้น  ที่ปาก  ที่แขน  และขาไม่มีแรง ไม่สามารถยืนได้  เกิดอัมพาต  ต่อไปจะไม่รู้สึกตัว (Coma)  และเริ่มมีอาการหายใจผิดปกติ   บางครั้งทำท่าจะหยุดการหายใจ   แสดงว่าเริ่มมีกล้ามเนี้อเกี่ยวกับการหายใจอ่อนแรงมาก    และในที่สุดจะหยุดหายใจ    และถึงแก่ความตายถ้าพิษเข้าไปมากอาจจะถึงแก่ความตามทันที  ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเกิดอาการจนกระทั่งหยุดหายใจประมาณ 1.5 ชม.  ฉะนั้นเมื่อถูกงูกัดจะต้องรีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยด่วนก่อนหยุดหายใจ  เมื่อถึงโรงพยาบาลแพทย์จะใส่เครื่องช่วยหายใจและฉีดเซรุ่มแก้พิษงูให้  ทำให้ไม่เป็นอัมพาต

    งูเห่าบางชนิดสามารถพ่นพิษได้  งูเห่าที่พ่นพิษได้นี้จะสังเกตุเห็นได้ง่ายคือ  เวลาแผ่แม่เบี้ยจะเห็นเป็นรูปตัว U ไม่เป็นดอกจันท์อย่างที่เคยเห็น  แต่มีบางชนิดที่พ่นพิษได้โดยไม่มีดอกจันท์และตัว U เวลาแผ่แม่เบี้ยจะเห็นเป็นสีดำเฉย ๆ  เวลาพ่นพิษจะพ่นได้ไกลประมาณ  2  เมตร  อาจจะพ่นเข้าตาได้  ถ้านั่งอยู่ใกล้ ๆ  ฉะนั้น  เมื่อถูกพ่นพิษเข้าตาจำต้องรีบล้างตาโดยเร็วเพื่อล้างพิษออกไป  มิฉะนั้น  จะทำให้ตาเป็นแผลและตาบอดได้  แต่อย่างไรก็ตาม  ถ้ายืนอยู่งูจะพ่นไม่ถึงตา  เพียงแต่ถูกบริเวณเข่าเท่านั้นจึงต้องระวังให้ดี

หลักปฏิบัติขั้นแรกเมื่อถูกงูกัด  (การปฐมพยาบาล) 

ก. ทำความสะอาดแผลที่ถูดงูกัดด้วยยาฆ่าเชื้อ  เช่น แอลกอฮอล์  หรือทิงเจอร์ไอโอดีน

ข. อย่าตื่นตกใจเกินไป  และควรพาผู่ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุด  โดยนำเอาซากงูที่กัดไปด้วย (ถ้ามี)  เพื่อวามถูกต้องในการรักษา

ค. ไม่ควรนำเอาใบไม้  รากไม้  หรือสมุนไพรต่าง ๆ มาใส่แผลเพราะจะทำให้แผลสกปรกเกิดการติดเชื้อ  และอาจเป็นบาดทะยักได้  หรือการรักษาโดยหมอกลางบ้านทำให้เสียเวลาและทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องช้าไป

ง. ตำแหน่งขาหรือแขนที่ถูกกัดควรให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด  โดยใช้ไม้กระดาน  หรือกระดาษแข็ง ๆ รองหรือดามไว้  ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีพอ ๆ กับการขันเชนาะแน่น

จ. ถ้าจะขันเชนาะต้องผ้า  โดยรัดเหนือตำแหน่งที่ถูกกัด  รัดแน่นปานกลางพอที่จะใช้นิ้มมือ 1นิ้ว  สอดระหว่างผ้ากับผิวหนังที่รัดได้  จุดมุ่งหมายของการรัดแบบนี้  เพื่อบังคับให้ส่วนที่ถูกกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด  (ห้ามใช้เชือกหรืองยางรัดเด็ดขาด)

ฉ. ห้ามดื่มของมึนเมา  หรือกินยากลางบ้าน  เนื่องจากอาจเกิดการสำลัก  และอาเจียน  หรือบดบังอาการของอาการแสดงจริงที่เกิดจากพิษงูได้  และทำให้พิษงูกระจายไปมาอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากของมึนเมาอาจจะแอลกอฮอล์อยู่ด้วย

การขันเชนาะควรใช้ในกรณีใด 

       ตำแหน่งที่ถูกกัด  ถ้าไม่ตรงกับเส้นเลือด  ไม่จำเป็นต้องขนเชนาะ  เพราะพิษงูส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมไปทางหลอดน้ำเหลือแต่ถ้าเป็นกรณีถูกงูกัดตรงตำแหน่งเส้นเลือด  ก็จะเหมือนการฉีดพิษเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง  การขันเชนาะก็จำเป็น  อย่างไรก็ตามคนทั่วไปไม่ใช่แพทย์จะไม่ทราบ  ดังนั้นเห็นว่าควรแนะให้ขันเชนสะไว้ก่อนจะปลอดภัยกว่า การขันเชนาะ  ต้องรัดเหนือตำแหน่งที่ถูกกัด  รัดแน่นพอที่จะใช้นิ้วมือ  1 นิ้ว  สอดระหว่างผ้ากับผิวหนังที่รัดไม่รัดแน่นจนเลือดไม่สามารถไปลี้ยงอวัยวะส่วยปลายนั้นได้เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อนั้นตาย (Gangrene)

การป้องกันการถูกงูกัด 

    การป้องกันไม่ให้งูกัดทำได้  แต่จะได้ผลมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับเวลา  สถานที่  และโอกาส  โดยปกติแล้ว  นิสัยของงูจะไม่เลื้อยมากัด  หรือทำร้ายมนุษย์โดยตรง  พิษของงูมีไว้เพื่อจับสัตว์เป็นอาหาร  งูจะกลัวคนเช่นเดียวกันกับคนกลัวงู  ส่วนใหญ่คนถูกงูกัดจะเป็นไปโดยบังเอิญ  เช่น เหยียบงูหรือเข้าใกล้งู  การที่งูกัดคนเป็นการป้องกันตัว (defensive mechanism)  ดังนั้น  ก่อนเดินเข้าป่าควรระวังและป้องกันโดยใส่กางเกงขายาว  เสื้อแขนยาว  สวมรองเท้าหุ้มส้น  ยิ่งเป็นรองเท้าบู๊ทยิ่งดี  มือถือไม้แกว่งไปมาระหว่างเดินป่า  เพื่อให้เกิดเสียงดังงูจะได้หนีไปก่อน  ไม่ควรเดินป่าในเวลากลางคืน  แต่ถ้าจำเป็นควรมีไฟฉายติดมือไปด้วย  จะทำให้การเดินป่าปลอดภัยขึ้น  การที่ชาวสวนยางพาราภาคใต้  หรือชาวสาวนผลไม้ภาคตะวันออกใส่รองเท้าบู๊ทเวลาทำงาน  จะทำให้ลดอันตรายเสี่ยงต่อการถูกงูกะปะกัดลงได้  แต่ชาวนาซึ่งทำงานในท้องนาที่เป็นน้ำ  และโคลน  การใส่รองเท้าอาจทำงานไม่สะดวก  ควรลดความเสี่ยงโดยวิธีอื่น  เช่น  พยามยามเดินในที่ที่ไม่รก  และเวลาเสร็จงานแล้วเดินทางกลับควรใส่รองเท้าจะช่วยได้บ้าง

Cover photo credit : Pixabay License / Pexels

งู
ปฐมพยาบาล

บทความอื่นที่น่าสนใจ

18 November 2024
บทความทั่วไป
พิษจากปลาปักเป้า

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. มุกดา  ตฤษณานนท์ การเดินทางไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ นอกจากจะดูภูมิประเทศในแหล่งต่างๆ แล้ว การรับประทานอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง การรับประทานอาหารอาจมีอันตรายได้ ถ้าเราไม่ระวังและไม่ทราบสิ่งที่เป็นพิษมาก่อน ปลาเป็นอาหารที่น่ารับประทานอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสารอาหารที่สำคัญ แต่ปลาที่เป็นพิษ เช่น ปลาปักเป้า รับประทานแล้วเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พิษของปลาปักเป้าเป็นพิษที่ทนต่อความร้อน เมื่อถูกความร้อนพิษจะไม่เสียไป ได้มีผู้นำเอาปลาปักเป้ามาขายเป็นจำนวนมากเรียกว่า “ปลาเนื้อไก่” เพราะเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อไก่ ราคามไม่แพงเห็นแล้วน่ารับประทาน แต่ที่จริงเป็นพิษ ปลาปักเป้า หรือ Puffer fish เป็นปลาที่หาได้ในน้ำจืดและน้ำเค็ม พบได้ทั่วประเทศที่มีอากาศร้อนอบอุ่น ในประเทศไทยพบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้าต่าง ๆ เช่น ตามหนอง คลอง บึง ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นปลาปักเป้าทะเล พบได้ในอ่าวไทย ตามปกติ ปลาปักเป้าจะมีสภาพเหมือนปลาทั่วไป มีหนามสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือ ลูกบอลลูน ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักันดี สำหรับชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยนกลับลงไปในทะเลในญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า “Fuge” ชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานแต่ต้องมีการเตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นพิเศษ จึงจะไม่มีพิษ พิษของปลาปักเป้ามีชื่อว่า […]

ปลาปักเป้า
อ่านเพิ่มเติม
18 November 2024
คำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย

ข้อมูลจาก: แผ่นพับให้ความรู้ประชาชน โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โรคมาลาเรียคืออะไร       โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ติดจากยุงมาสู่คน โดยเชื้อมาลาเรียในมนุษย์มีทั้งหมด 4 ชนิดคือ Plasmodium falciparum, Plasmodium vivax, Plasmodium malariae    และ  Plasmodium ovalae โรคมาลาเรียพบบ่อยแค่ไหน และพบในส่วนไหนของประเทศไทย        โรคมาลาเรียพบในประเทศเขตร้อน และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโรคประมาณกันว่าในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเป็นมาลาเรียถึงปีละ 300-400 ล้านคนทั่วโลก และมีคนเสียชีวิตปีละประมาณ 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เกิดในทวีปแอฟริกา          ส่วนในประเทศไทยเองสามารถพบเชื้อมาลาเรียได้ในเขตป่า โดยเฉพาะตามเขตชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ชายแดนไทย-พม่า ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยจังหวัดที่มีการรายงานพบผู้ป่วยมาลาเรียเป็นจำนวนมากคือ จังหวัดตาก กาญจนบุรี ตราด ราชบุรี แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยจะพบในเขตพื้นที่ที่เป็นป่าเขาเท่านั้น  ไม่พบมาลาเรียในเขตเมือง โรคมาลาเรียติดต่ออย่างไร          โดยปกติแล้วคนสามารถติดเชื้อมาลาเรียโดยการถูกยุงก้นปล่อง (Anopheles)กัด โดยยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าร่างกายคน หลังจากนั้นจะมีการแบ่งตัวมากขึ้นทำให้เกิดอาการของโรคมาลาเรียได้ และ เมื่อมียุงก้นปล่องมากัดคนที่เป็นมาลาเรียจะสามารถนำเชื้อแพร่ไปสู่คนอื่นได้อีก           เนื่องจากเชื้อมาลาเรียอยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีรายงานการติดเชื้อมาลาเรียโดยการได้รับเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน อาการของโรคมาลาเรียเป็นอย่างไร           โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการภายหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 2 เดือน โดยอาการของผูป่วยคือจะมีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว บางรายมีการบวดท้อง […]

มาลาเรีย
ยุง
เขตร้อน
โรคติดเชื้อ
อ่านเพิ่มเติม
18 November 2024
บทความทั่วไป
ไข้เลือดออก..โรคที่นักท่องเที่ยวพึงระวัง

รศ.รท.นพ.ชิษณุ  พันธุ์เจริญ ไข้เลือดอออกจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย  มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ซึ่งมี 4 ชนิด คือ เด็งกี่-1 ถึง 4 โดยมียุงลายซึ่งมักหากินในเวลากลางวันเป็นพาหนะนำโรค  พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 50,000 -100,000 ราย  เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกร่วมด้วยประมาณร้อยละ 5 และเป็นผู้ป่วยเสียชีวิตประมาณปีละ 100-400 ราย  ในบางปีที่มีการระบาดใหญ่พบผู้ป่วยกว่าแสนรายต่อปี  แต่เดิมผู้ป่วยไข้เลือดออกมักพบเด็กเล็ก  แต่ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า  อายุของผู้ป่วยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น  และในปัจจุบันผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กโตและผู้ใหญ่               ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปยังประเทศต่าง ๆทั่วโลก  อาจเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจากสังคมมาเป็นชุมชนชาวเมือง  สภาพชุมชนแออัดที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพิ่มขึ้น  การควบคุมปะชากรยุงและการควบคุมโรคที่ขาดประสิทธิภาพและการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกสิ่งที่ควรรู้                  ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการไข้สูงลอย หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเหมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และมีภาวะเลือดออก อาจเป็นจุดเลือดออกที่ผิวหนังซึ่งเกิดขึ้นเองหรือจากการรัดแขนที่เรียกว่าการทดสอบทูนิเกต์หรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาการของผู้ป่วยมี 3 ระยะคือ       1. ระยะไข้สูง เป็นระยะเวลา 3-7 วัน 2. ระยะวิกฤตเป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการไข้ลดลง หากผู้ป่วยมีการรั่วของพลาสมาอาจเกิดภาวะช็อก  โดยผู้ป่วยจะอาการกระสับกระส่าย  มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบาลง […]

ยุง
เขตร้อน
โรคติดเชื้อ
ไข้เลือดออก
อ่านเพิ่มเติม