ภาณุพงศ์ โควสุรัตน์
18 November 2024
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. มุกดา ตฤษณานนท์ การเดินทางไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ นอกจากจะดูภูมิประเทศในแหล่งต่างๆ แล้ว การรับประทานอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง การรับประทานอาหารอาจมีอันตรายได้ ถ้าเราไม่ระวังและไม่ทราบสิ่งที่เป็นพิษมาก่อน ปลาเป็นอาหารที่น่ารับประทานอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย มีสารอาหารที่สำคัญ แต่ปลาที่เป็นพิษ เช่น ปลาปักเป้า รับประทานแล้วเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พิษของปลาปักเป้าเป็นพิษที่ทนต่อความร้อน เมื่อถูกความร้อนพิษจะไม่เสียไป ได้มีผู้นำเอาปลาปักเป้ามาขายเป็นจำนวนมากเรียกว่า “ปลาเนื้อไก่” เพราะเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อไก่ ราคามไม่แพงเห็นแล้วน่ารับประทาน แต่ที่จริงเป็นพิษ ปลาปักเป้า หรือ Puffer fish เป็นปลาที่หาได้ในน้ำจืดและน้ำเค็ม พบได้ทั่วประเทศที่มีอากาศร้อนอบอุ่น ในประเทศไทยพบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้าต่าง ๆ เช่น ตามหนอง คลอง บึง ส่วนปลาปักเป้าหนามทุเรียน เป็นปลาปักเป้าทะเล พบได้ในอ่าวไทย ตามปกติ ปลาปักเป้าจะมีสภาพเหมือนปลาทั่วไป มีหนามสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือ ลูกบอลลูน ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักันดี สำหรับชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน เขามักจะทำลายมันทิ้งหรือโยนกลับลงไปในทะเลในญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่า “Fuge” ชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานแต่ต้องมีการเตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นพิเศษ จึงจะไม่มีพิษ พิษของปลาปักเป้ามีชื่อว่า […]
ข้อมูลจาก: แผ่นพับให้ความรู้ประชาชน โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โรคมาลาเรียคืออะไร โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ติดจากยุงมาสู่คน โดยเชื้อมาลาเรียในมนุษย์มีทั้งหมด 4 ชนิดคือ Plasmodium falciparum, Plasmodium vivax, Plasmodium malariae และ Plasmodium ovalae โรคมาลาเรียพบบ่อยแค่ไหน และพบในส่วนไหนของประเทศไทย โรคมาลาเรียพบในประเทศเขตร้อน และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโรคประมาณกันว่าในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเป็นมาลาเรียถึงปีละ 300-400 ล้านคนทั่วโลก และมีคนเสียชีวิตปีละประมาณ 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เกิดในทวีปแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยเองสามารถพบเชื้อมาลาเรียได้ในเขตป่า โดยเฉพาะตามเขตชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ชายแดนไทย-พม่า ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยจังหวัดที่มีการรายงานพบผู้ป่วยมาลาเรียเป็นจำนวนมากคือ จังหวัดตาก กาญจนบุรี ตราด ราชบุรี แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยจะพบในเขตพื้นที่ที่เป็นป่าเขาเท่านั้น ไม่พบมาลาเรียในเขตเมือง โรคมาลาเรียติดต่ออย่างไร โดยปกติแล้วคนสามารถติดเชื้อมาลาเรียโดยการถูกยุงก้นปล่อง (Anopheles)กัด โดยยุงจะปล่อยเชื้อมาลาเรียเข้าร่างกายคน หลังจากนั้นจะมีการแบ่งตัวมากขึ้นทำให้เกิดอาการของโรคมาลาเรียได้ และ เมื่อมียุงก้นปล่องมากัดคนที่เป็นมาลาเรียจะสามารถนำเชื้อแพร่ไปสู่คนอื่นได้อีก เนื่องจากเชื้อมาลาเรียอยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีรายงานการติดเชื้อมาลาเรียโดยการได้รับเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน อาการของโรคมาลาเรียเป็นอย่างไร โดยปกติแล้วผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการภายหลังได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 2 เดือน โดยอาการของผูป่วยคือจะมีไข้สูง หนาวสั่น เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว บางรายมีการบวดท้อง […]
โดย ศ.นพ.มุกดา ตฤษณานนท์ การเดินทางท่องเที่ยวตามป่าเขาและทุ่งนา อาจพบกับพวกงูบางชนิด ซึ่งเป็นงูมีพิษ และอาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังจะได้กล่าวต่อไป งูเห่าเป็นสัตว์ที่มีพิษ ซึ่งมีผลต่อประสาท พบได้ทั่วไปในประเทศไทย งูเห่าจะแผ่แม่เบี้ยเห็นชัดเจน ที่หัวมีดอกจันท์ บางชนิดอาจจะไม่มีการก็ได้ ลำตัวสีค่อนข้างดำ งูโดยมากมักจะหนี ไม่ใช่จะกัดเราง่าย ๆ นอกจากจะไปเหยียบตัวงูเข้า หรืองูตกใจ ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกกัดมักจะไปเหยียบ งูจะฉกกัดทันทีอย่างรวดเร็ว บางทีเรามองไม่เห็นงูด้วยซ้ำไป งูมักจะอยู่ในที่มืด เช่น ตามใต้ท่อนไม้ซึ่งผุ ตามใต้ก้อนหินหรือหลบอยู่ตามพงหญ้า ตามทุ่งนาเป็นต้น งูมีพิษจะมีเขี้ยว 2 เขี้ยว เมื่อฉกกัดจะเห็นเป็นรอยเขี้ยวเป็นรู 2 รู มีเลือดออกซิบ ๆ มีอาการเจ็บ เสียวแปลบ ปวดมากพอสมควร ผู้ถูกกัดจะรู้สึกทันที ถ้าถูกกัดด้วยงูเห่าซึ่งมีตัวใหญ่ และปล่อยพิษเข้าไปมาก จะเกิดอาการภายใน 20 นาที อาการจะเริ่มต้นด้วยมีอาการงงที่ศรีษะ, ปวดเมื่อย ต่อไปมีอาการหนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น […]